เมื่อกล่าวถึง “มัมมี่” แล้ว หลายท่านก็อาจจะนึกว่า ซากร่างแห่งอดีตกาลนี้จะมีแต่ในประเทศอียิปต์ หรืออเมริกาใต้เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในประเทศจีนอันเป็นดินแดนแห่งมังกรนี้ ก็ยังมีการเก็บรักษาศพในลักษณะที่ทำเป็นมัมมี่เช่นกัน ชนชาติจีนเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน เช่นเดียวกับชาวอียิปต์โบราณ หรือชนเผ่าต่างๆ ในทวีปอเมริกาใต้ ดังนั้นแล้วก็ย่อมมีวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตที่แตกต่างจากชาติอื่นจนกระทั่งในหลายเรื่อง ก็กลายไปเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของชาวจีนไป เช่นเดียวกับเรื่องของการเก็บรักษาศพที่แตกต่างจากการทำมัมมี่ของชาวอียิปต์โบราณ หรือชนเผ่าต่างๆ ในทวีปอเมริกาใต้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งข้อแตกต่างประการสำคัญก็คือ ชาวจีนจะไม่ควักอวัยวะภายในร่างกายออกมาเลย แต่กลับพยายามรักษาสภาพศพให้สมบูรณ์ที่สุด ดังเช่นในเรื่องของ “ขันที” ซึ่งเราก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า บุรุษที่เข้าไปทำหน้าที่เป็นขันทีอยู่ในพระราชวังนั้น
จะต้องถูกตัดเครื่องเพศออก เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าพนักงานเหล่านี้ทำการอันไม่บังควรต่อราชวงศ์ชั้นสูงที่เป็นสตรี แต่กระนั้นก็ตาม เมื่อขันทีคนใดเสียชีวิตแล้ว เครื่องเพศของเขาที่ถูกตัดออกไปตั้งแต่เข้ามารับราชการและถูกเก็บรักษาเอาไว้เป็นอย่างดี ก็จะถูกนำกลับมาต่อให้สมบูรณ์ดังเดิม เพื่อที่ว่าเมื่อไปเกิดใหม่แล้วจะได้มีร่างกายที่สมบูรณ์ด้วยเหตุนี้จึงเกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า เมื่อไม่ได้ควักอวัยวะภายในออกมาจากศพ เหตุใดซากศพของชาวจีนซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นชนชั้นสูงในสังคม จึงสามารถดำรงอยู่เช่นนั้นได้จนถึงปัจจุบันโดยไม่เน่าเปื่อย หรือจะมี “สูตรยาลับ” ประการใด ที่สามารถใช้รักษาสภาพของศพเอาไว้ได้ ประเทศจีน…นอกจากจะมั่งคั่งในทางธุรกิจ ก็ยังเป็นแหล่งของวัฒนธรรมอันสำคัญของโลกรวมถึงการทำ “มัมมี่” เพื่อรักษาร่างของผู้วายชนม์เอาไว้ด้วย แต่มัมมี่ของชาวจีนจะมีลักษณะที่แตกต่างจากมัมมี่ของชาติอื่น ๆ หรือไม่ วันนี้ iqnect จะพาหาคำตอบได้ใน 2 ปริศนามัมมี่ที่ค้นพบในประเทศจีน
Jiangsu mummy มัมมี่ที่มณฑลเจียงซู
มีการค้นพบชาติของมัมมี่ที่เป็นหญิงชาวจีน ซึ่งถูกแช่เอาไว้ในของเหลวปริศนาสีน้ำตาล การค้นพบในครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อปีสองพันสิบเอ็ด โดยในขณะที่กําลังมีการขุดขยายผิวการจราจรที่มณฑลเชียงซูนั้นบรรดาคนงานที่ทําการขุดก็พบกับโลงศพ ซึ่งในที่สุดเมื่อเปิดฝาโลงออก พวกเขาก็พบกับศพที่ไม่เน่าเปื่อยของสุภาพสตรีท่านหนึ่ง โดยที่ซากศพของนางนั้นแช่อยู่ในของเหลวสีน้ำตาล ซึ่งไม่มีใครทราบว่านี่คือสารอะไรเมื่อนักวิชาการได้นําซากศพนี้ขึ้นมาจากโรง พวกเขาก็พบว่า ซากที่ไม่เน่าเปื่อยนี้ เป็นของหญิงสูงศักดิ์ในยุคราชวงศ์หมิง
ซึ่งมีอายุมากถึงเจ็ดร้อยปี นอกจากนั้นก็ยังพบว่าซากศพไม่เปลี่ยนสภาพ แม้ว่าจะสัมผัสกับอากาศและสภาพแวดล้อมนอกโรงแล้วก็ตาม ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าฉงนและน่าคบคิดว่า น้ำยาปริศนาที่ใช้ศพนี้คือสารประกอบชนิดใด แม้ว่าเราจะไม่ทราบว่าของเหลวที่ใช้แช่ศพคือสิ่งใด แต่อย่างน้อยที่สุดเราก็ได้ทราบว่า ของเหลวสีน้ำตาลนี้มีประสิทธิภาพในการรักษาสภาพศพที่มากกว่าการทํามัมมี่ของชาวอียิปต์โบราณหรือชนเผ่าในอเมริกาใต้เนื่องจากว่าการทํามัมมี่ของชาวจีนไม่ได้ควักอวัยวะภายใน อันเป็นต้นเหตุสําคัญของการเน่าเปื่อยออกไปเลย
Xin zhui mummy มัมมี่ของท่านผู้หญิงชินชุ่ย
ซึ่งมีอายุมากกว่าสองพันปีโดยมีผู้พบซากมัมมี่ของนาง เมื่อปีหนึ่งพันเก้าร้อยเจ็ดสิบสองที่สุสานซึ่งตั้งอยู่บนภูเขา เมื่อมีการค้นพบสิ่งอันน่ามหัศจรรย์เช่นนี้แล้ว นักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีชาวจีนจึงรีบชันสูตรซากของมัมมี่ท่านผู้หญิงชินชุ่ยทันที เนื่องจากว่าเป็นโอกาสอันดีในวงวิชาการที่จะได้ศึกษาซากมัมมี่อันสมบูรณ์เช่นนี้ ซึ่งผลจากการชันสูตรซากมัมมี่ก็พบว่า ท่านผู้หญิงชินชุ่ยมีโลหิตกรุ๊ปบีและน่าจะเป็นผู้ที่มีรูปร่างค่อนข้างอ้วนเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยหนักประมาณหกสิบแปดกิโลกรัม
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เป็นหลักฐานในการกล่าวอ้างเช่นนี้ก็คือ รอยยับย่นที่ผิวหนัง ซึ่งเมื่อการและเวลาล่วงเลยไปกว่าสองพันปีก็ทําให้มีผิวกายยับย่นลงเช่นนี้ เมื่อทราบมัมมี่ของท่านผู้หญิงชินชุ่ยมีคุณค่าต่อวงวิชาการของประเทศจีนเช่นนี้แล้ว ซากมัมมี่นี้จึงได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีในพิพิธภัณฑ์แห่งมณฑลอู่หนานการที่ซากของท่านผู้หญิงชินชุ่ยไม่เน่าเปื่อยนั้น สร้างความงุนงงให้กับวงวิชาการเป็นอย่างมาก ซึ่งกรรมวิธีหรือเคล็ดลับในการรักษาสภาพของซากศพก็ยังคงเป็นปริศนาต่อไป
สนับสนุนการจัดทำโดย jilislot