Sunday, 21 April 2024

เส้นทางลับในสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก

25 Feb 2023
217

เส้นทางลับในสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก

ในสถานที่สำคัญทั้งหลายซึ่งมีความเป็นมาอันยาวนานทางประวัติศาสตร์ ก็ย่อมมีเส้นทางที่ใช้สัญจรอยู่โดยรอบ รวมถึงภายในสถานที่เหล่านั้น แต่กระนั้นก็ยังมีเส้นทางลับหรือประตูลับแอบซ่อนอยู่ด้วย เพื่อใช้เป็นเส้นทางหลบหนี ซ่อนตัวจากศัตรูหรือเพื่อความมุ่งหมายอื่น ๆ ตามที่ผู้สร้างสถานที่แห่งนั้นต้องการ ซึ่งเรื่องราวจะเป็นเช่นใด วันนี้ iqnect จะพาทุกท่านมาหาคำตอบได้ใน…เส้นทางลับในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

ประตูลับบนกําแพงเมืองจีน

เส้นทางลับในสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก

แม้ว่ากําแพงเมืองจีนจะถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นปราการอันมั่นคงก็ตาม แต่มันก็มีประตูลับที่สามารถใช้สัญจรผ่านกําแพงอันสูงตระหง่านและยิ่งใหญ่นี้ได้ด้วย โดยมีการเปิดและปิดอย่างเป็นระบบ กล่าวคือทีมวิจัยระบบป้องกันข้าศึกของกําแพงเมืองจีนได้เปิดเผยว่า มีการค้นพบประตูลับบนกําแพงเมืองจีนถึงหนึ่งร้อยสามสิบบาน โดยในอดีตนั้นจะใช้เป็นเส้นทางผ่านเข้าออกของทหารกองสอดแนม รวมถึงใช้เป็นเส้นทางการติดต่อค้าขายต่างๆ นอกจากนั้นก็ยังปรากฏข้อมูลอยู่ในเอกสารของทางการในสมัยราชวงศ์หมิงอีกด้วยนะ ว่าชนเผ่าเร่ร่อนที่อาศัยอยู่บริเวณฉิ่งไห่และเฮ่อเถ่า

เส้นทางลับในสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก

ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนก็ยังได้รับอนุญาตจากทางการให้นําปศุสัตว์ เดินทางผ่านเข้าออกประตูลับของกําแพงเมืองจีนได้อีกด้วย เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำและหญ้า ซึ่งเหมาะแก่การทําปศุสัตว์เลี้ยงพลเมืองและกองทัพ ส่วนในยามที่มีข้าศึกศัตรูเคลื่อนทับมาประชิดติดกับกําแพงเมืองจีนนั้น นายหลีเจ๋อซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัยระบบป้องกันข้าศึกของกําแพงเมืองจีนก็ได้กล่าวว่า ทหารจะทําการก่ออิฐ ซึ่งมีสีสันกลมกลืนกับสภาพกําแพงด้านนอก เพื่อซ่อนประตูลับเหล่านี้จากการมองเห็นของศัตรู แต่หากมีเหตุจําเป็นหรือต้องการจะโจมตีข้าศึกอย่างสายฟ้าแลบ ทหารก็สามารถทุบทําลายอิฐที่ก่อขึ้นมาใหม่นี้ได้อย่างง่ายดายเคลื่อนทัพออกไปจู่โจมศัตรูได้อย่างรวดเร็ว

อุโมงค์ไจ๋ซาน

เส้นทางลับในสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก

อุโมงค์ไจ๋ซานตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลสาบกู้กัง บนหมู่เกาะจินเมินหรือจีม่อย ซึ่งในปัจจุบันอยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน อุโมงค์ไจ๋ซานเกิดขึ้นจากการพังทลายของดินเกาะ จนกระทั่งทางกองทัพได้ส่งกําลังทหารเข้าไปขุดและตกแต่งอุโมงค์เพิ่มเติมในปีหนึ่งพันเก้าร้อยหกสิบเอ็ด โดยอุโมงค์นี้มีความยาวหนึ่งร้อยหนึ่งเมตรทอดตรงไปสู่ทะเล กว้างหกเมตรและสูงสามจุดห้าเมตรและด้วยความที่เส้นทางในถ้ำตรงออกไปสู่ทะเลเช่นนี้ มักจะถูกใช้เป็นเส้นทางสําคัญทางทหารในสงคราม

เนื่องจากว่าทหารสามารถเคลื่อนกําลังพลไปได้โดยที่ฝ่ายศัตรูมองไม่เห็น แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง อุโมงค์ไจ๋ซานก็ถูกทิ้งร้าง จนกระทั่งทรุดโทรและมีทรายสะสมอยู่เป็นจํานวนมาก ต่อมาทางรัฐบาลจึงทําการบูรณะอุโมงค์ไจ๋ซานขึ้นมาใหม่และในวันที่ยี่สิบสามพฤษภาคมปีหนึ่งพันเก้าร้อยเก้าสิบเจ็ดก็ได้รวมอุโมงค์แห่งนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติจินเหมินและติดไฟประดับภายในอุโมงค์อย่างสวยงาม จนกระทั่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสําคัญของไต้หวัน แต่ถึงยังนั้นทางกองทัพก็ยังสงวนสิทธิ์ที่จะใช้อุโมงค์ไจ๋ซานในกิจกรรมทางทหาร หากเกิดสงครามขึ้นหรือมีการซ้อมรบ

อุโมงค์ลับใต้วิหาร Chavin de Huantar

เส้นทางลับในสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก

นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้าทําการสํารวจทางโบราณคดีที่วิหารโบราณอายุสามพันปี ซึ่งตั้งอยู่ในแหล่งโบราณคดี Chavin de Huantar ประเทศเปรู โดยแหล่งโบราณคดีแห่งนี้อยู่ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอนดิสและอยู่ห่างจากกรุงนิมมาไปประมาณสี่ร้อยสามสิบห้ากิโลเมตรและเคยเป็นศูนย์รวมของคนในท้องถิ่น เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ในขณะที่นักโบราณคดีกําลังทําการสํารวจวิหารโบราณอยู่นั้น พวกเขาก็พบกับรูเล็กๆที่ปรากฏอยู่ใกล้กับซากปรักหักพังของวิหาร

เส้นทางลับในสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก

ซึ่งเมื่อพวกเขาส่งหุ่นยนต์เข้าไปสํารวจในรูแห่งนี้ พวกเขาก็พบว่าภายในนั้นเป็นทางเดินใต้ดิน ซึ่งที่สุดทางนั้นมีวัตถุบางอย่างซ่อนอยู่ พวกเขาจึงบังคับให้หุ่นยนต์เคลื่อนลึกเข้าไปอีก จนกระทั่งพบว่าสิ่งที่ซ่อนอยู่ที่สุดอุโมงค์ก็คือชามหินและอุปกรณ์ที่ใช้ขุดเจาะซึ่งเรียกว่าหัวแร้ง โดยนักโบราณคดีคาดว่าสถานที่แห่งนี้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ พวกเขาจึงตั้งชื่อของบริเวณที่ค้นพบสิ่งเหล่านี้ว่า the gallery of the condor โดยมีอายุอยู่ระหว่างหนึ่งพันสองร้อยถึงสองร้อยปีก่อนคริสตกาล นอกจากนั้นก็ยังมีอุโมงค์ลับในลักษณะเช่นนี้อีกสามสิบสี่อุโมงค์ที่ค้นพบใต้วิหารโบราณแห่งนี้

สนับสนุนการจัดทำโดย ufa365auto